Q : Meta tag คืออะไร ?
Metadata Elements Tag หรือ Meta Tag คือ ส่วนของซอร์สโค๊ดที่อยู่ใน Head (ส่วนหัว) ของเอกสาร HTML โดยปกติเมื่อเราเปิดหน้าเว็บไซต์หนึ่ง ๆ ขึ้นมา ส่วนของ Head จะถูกประมวลผลก่อน ดังนั้น Meta Tag จึงเป็นส่วนที่บอกคุณลักษณะของเว็บนั้น ๆ ว่าเป็นเว็บเกี่ยวกับอะไร แสดงผลด้วยภาษาอะไร ใครเป็นผู้เขียน มีคำค้นที่ใช้ว่าอะไร เป็นต้น
ถ้าให้ผมเปรียบเทียบง่ายๆ Meta tag ก็เหมือนกับป้ายหน้าร้าน ที่จะสื่อได้ว่าร้านเราขายอะไร? มีสินค้าหลัก ๆ อะไรบ้าง คนซื้อจะได้ตัดสินใจได้ว่า จะเข้าหรือไม่เข้าร้านของเรา
Q : Meta tag สำคัญอย่างไร ?
Meta Tag เป็นการกำหนด หัวเรื่อง คำ การบรรยายถึงรายละเอียดหน้า บล็อก/เว็บไซต์นั้น ของเรา เมื่อมีการค้นหา จาก search engine ต่างๆ เช่นใน google จะนำข้อความใน Tag Description ไปแสดงผลในการค้นหา ซึ่งถ้าเราใส่ Meta tag ให้ถูกวิธี บล็อก/เว็บของเราก็จะติดอันดับการค้นหาเป็นอันดับต้นๆ ได้ไม่ยาก
Q : จำเป็นต้องใส่ Meta tag หรือไม่ ?
ถ้าเราไม่เขียนก็ได้ แต่ Search Engine จะทำการหาข้อความ หรือเนื้อหาที่ปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ไปแทน ซึ่งอาจไม่ใช่ใจความสำคัญ หรือส่วนสำคัญของเว็บไซต์ของเราก็ได้ จะเป็นการดีมากถ้าเราสละเวลาเล็กน้อยเพื่อเขียนรายละเอียดส่วนนี้
Q : Meta tag มีกี่ชนิด ?
มีหลายชนิดครับ ผมคงจะเลือกอธิบายเฉพาะที่สำคัญ และยังใช้ได้ในปัจจุบัน ดังนี้ครับ
Title Element - Page Titles (มีผลกับการทำ SEO มาก)
ใช้สำหรับบอกว่า หน้าเว็บไซต์ที่กำลังแสดงผลอยู่มีหัวข้อว่าอะไร เช่น
<title>สอนแต่งบล็อก l Hackublog</title>
Meta Description Tag (มีผลกับการทำ SEO ปานกลาง)
ใช้สำหรับแสดงรายละเอียดสั้น ๆ ของหน้าเว็บไซต์ที่กำลังแสดงผลอยู่ ไม่ควรเขียนให้สั้น หรือ ยาวจนเกินไป ข้อความที่เขียนควรสัมพันธ์กับเนื้อหาของหน้านั้น ๆ ด้วยนะครับ
รูปแบบ
<META NAME='DESCRIPTION' CONTENT='ใส่เนื้อหาเกี่ยวกับเว็บไซต์'/>
ตัวอย่าง
<meta name='description' content='widgets, hacks, help, tips and tricks for bloggers' />
Meta Keywords Tag (มีผลกับการทำ SEO ปานกลาง)
ใช้สำหรับระบุคำค้น ที่สามารถเข้ากันได้กับเนื้อหาในหน้าเว็บนั้น ๆ สามารถใส่ได้หลายคำ และแบ่งคำโดยใช้เครื่องหมายจุลภาค “,”
รูปแบบ
<META NAME='KEYWORDS' CONTENT='ใส่คำสำคัญ'/>
ตัวอย่าง
<meta name='keywords' content= 'Blogger template, tutorial, hacks, blogger tutorial, blogger tips, blogger tricks, blogger tips and tricks' />
Meta author Tag (มีผลกับการทำ SEO น้อย)
เป็นการกำหนดชื่อผู้สร้างเว็บเพจและให้ใส่ชื่อผู้แต่ง สามารถใช้ชื่อจริงหรือชื่อสถาบันก็ได้
รูปแแบบ
<META NAME='AUTHOR' CONTENT='ใส่ชื่อ'/>
ตัวอย่าง
<meta name='author' content='Hackublog' />
Meta copyright Tag (มีผลกับการทำ SEO น้อย)
ที่แสดงถึงความเป็นเจ้าของเว็บไซต์ โดยให้ใส่ ?ชื่อผู้จัดทำ? หรือ?ชื่อหน่วยงาน สถาบัน บริษัทที่จัดทำ? และอาจใส่ถ้อยความแสดงความเป็นเจ้าของ
รูปแแบบ
<META NAME= 'COPYRIGHT' CONTENT='ใส่พวกชื่อบริษัทแสดงความเป็นเจ้าของเว็บ' />
ตัวอย่าง
<meta name='author' content='สงวนลิขสิทธิ์โดย Hackublog' />
Meta Language Tag (มีผลกับการทำ SEO มาก)
ใช้สำหรับระบุว่า หน้าเว็บไซต์นั้น ๆ มีเนื้อหาเป็นภาษาอะไร เช่น
<meta http-equiv='content-language' content='th' />
Meta Content Type Tag (มีผลกับการทำ SEO มาก)
ใช้สำหรับระบุว่า หน้าเว็บไซต์นั้น ๆ สามารถแสดงผลได้ถูกต้องด้วยชุดตัวอักษรแบบใด และเป็นเอกสารประเภทอะไร เช่น
<meta http-equiv='content-type' content='text/html; charset=UTF-8?' />
Meta Revisit-After Tag (มีผลกับการทำ SEO ปานกลาง)
ใช้สำหรับบอกกับ Robot ของ Search Engine ว่า ให้มาเก็บข้อมูลอีกครั้งในอีกกี่วันข้างหน้า เช่น
<meta name='revisit-after' content='7 days' />
Meta Robots Tag (มีผลกับการทำ SEO มาก)
ใช้สำหรับบอก Robot ของ Search Engine ว่าให้ Robot เก็บข้อมูลในหน้านั้นไป Indexs หรือไม่ หรือ ให้ Robot เดินทางไปตาม Links ที่ปรากฎในหน้านั้น ๆ หรือไม่ ค่าต่างๆ ของ meta ชนิดนี้ได้แก่
'all' คือ การกำหนดค่าให้สามารถจัดทำดรรชนีคำในเนื้อหาได้ทุกหน้าที่มีการเชื่อมโยงถึง เพื่อนำไปจัดเก็บบันทึกลงฐานข้อมูล Search Engine
'noindex' คือ การกำหนดไม่ให้จัดทำดรรชนีคำในเนื้อหาสำหรับหน้าที่กำหนดไว้ แต่ให้ตามส่วนที่เชื่อมโยงได้และนำเนื้อหาไปจัดทำดรรชนีได้ ไปลงฐานข้อมูล Search Engine
'nofollow' คือ การกำหนดให้จัดทำดรรชนีคำในเนื้อหา ในหน้าที่ปรากฏได้ แต่ไม่ให้ตามส่วนที่เชื่อมโยงเพื่อจัดทำดรรชนีคำในเนื้อหา นำไปลงฐานข้อมูล
'none' คือ การห้ามไม่ให้ spider จัดเก็บเว็บเพจที่ปรากฏไปทำดรรชนีเนื้อหา และ ห้ามตามส่วนเชื่อมโยงเพื่อทำดรรชนีในเนื้อหาด้วยเช่นกัน ตัวอย่างการนำไปใช้งาน
ตัวอย่าง
<meta name='robots' content='index, follow' />
Meta Distribution Tag เป็น Tag (มีผลกับการทำ SEO มาก)
ใช้สำหรับแจ้งระดับการเผยแพร่ ความครอบคลุมของเว็บไซต์ โดยระดับการเผยแพร่มีระดับดังนี้ Global, local, internal use
Global คือ ต้องการเผยแพร่บุคคลทั่วไปทั่วโลก
Local คือ ต้องการเผยแพร่บุคคลภายในประเทศ
internal use(lu) คือ ไม่ต้องเผยแพร่ทั่วไป
รูปแบบ
<META name='Distribution' content='ระดับการเผยแพร่' />
ตัวอย่าง
<META name='Distribution' content='Global' />
Q : จะใส่ Meta tag ให้ blogger อย่างไร ?
ไปที่แผงควบคุม >> รูปแบบ >> แก้ไข HTML
ค้นหาโค้ด
<b:include data='blog' name='all-head-content'/>
แล้ววางโค้ดต่อไปนี้ถัดจากโค้ดดังกล่าว
<meta name="keywords" content="Blogger, Google Blogger, Blogger template, tutorial, hacks, blogger tutorial, blogger tips, blogger tricks, blogger tips and tricks" />
<meta name="description" content="widgets, hacks, help, tips and tricks for bloggers" />
<meta name="author" content="Hackublog" />
<meta name="robots" content="all" />
เปลี่ยน content ในส่วน keyword , content ในส่วน description และ author content ให้เป็นคำที่สัมพันธ์กับบล็อก /เว็บไซต์ของคุณ และบันทึกแม่แบบครับ
คำเตือน ! กรุณาอย่า spam keyword และ content (ใส่ข้อความซ้ำๆ) ใน meta tag เพราะอาจจะทำให้ถูกแบนได้ แทนที่จะติดอันดับการค้นหาอาจจะกลายเป็นค้นหาไม่เจอก็ได้นะครับ
บทความดีๆจาก http://www.hackublog.com/2010/01/meta-tag-blogger.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น